22.9 C
Bangkok
Friday, January 3, 2025

ຄວາມຮູ້ອະເມລິກາ ລະບົບການສຶກສາ

10608354_842962175768344_8984906549150413265_o

 

ຄວາມຮູ້ອະເມລິກາ ລະບົບການສຶກສາ

Term/ Semester

ข้อมูลประเทศ USA

ตารางเทอมเปิดเรียน

เทอม เดือน Deadlineใบสมัคร
Spring semester January-May November 1
Summer semester June-August April 1
Fall semester August-December July 1

 

United States of America (ประเทศสหรัฐอเมริกา) มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 378,695 ตารางไมล์ หรือใหญ่กว่าประเทศไทยถึง 18 เท่า มีประชากรประมาณ 300 ล้านคน (ค.ศ. 2007)
นับเป็นประเทศที่มีความหลากหลายในเรื่องของภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ทะเลทราย ภูเขา ที่ราบสูง และที่ลุ่ม สหรัฐอเมริกามีผืนแผ่นดินใหญ่เพราะมีพื้นที่ของรัฐติดต่อกันถึง 48 รัฐ โดยมีรัฐอลาสก้า อยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนนาดา และรัฐฮาวาย ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ห่างจากแผ่นดินใหญ่ถึง 3200 กิโลเมตรโดยประมาณ จากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ทิศเหนือติดกับประเทศแคนนาดา ทิศใต้ติดกับประเทศแม็กซิโกและอ่าวแม็กซิโก ทิศตะวันออกติดกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค ทิศตะวันตกจรดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค

ประชากร

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการขนานนามว่า “Melting Pot” หมายถึงแหล่งรวมของประชากรที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรมที่หล่อหลอมรวมกัน ชนพื้นเมืองดั้งเดิมคืออินเดียนแดง หลังจากนั้นชาวอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดินทางอพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาโอกาส ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรขาวผิวขาวประมาณกว่า 75 % นอกจากนี้ยังมีชาวผิวดำที่ถูกนำมาจากทวีปอาฟริกาในฐานะทาส แต่เดิมคนดำจะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ เช่น Washington D.C., Chicago โดยเฉพาะ New York ส่วนชาว Hispanic หรือพวกเชื้อสายสเปนซึ่งมีอยู่ประมาณ 13 % ยังมีชาวเอเชียหรือพวกเชื้อสายแถบหมู่เกาะแปซิฟิคประมาณ 4% รวมทั้งชนเชื้อสายญี่ปุ่นมากกว่า 1 ใน 3 อาศัยอยู่ใน Hawaii

ภูมิอากาศ

อากาศหนาว เว้นแต่ในมลรัฐฮาวาย และมลรัฐฟลอริดา หนาวเย็นมากที่บริเวณขั้วโลกเหนือในมลรัฐอะแลสกา บริเวณที่ ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) จะค่อนข้างแห้งแล้งและมีความแห้งแล้งมากบริเวณที่ลุ่มภาค ตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะมีอากาศดีขึ้นเป็นครั้งคราวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยจะได้รับความอบอุ่นจากลมของเนินเขาด้านตะวันออกของเทือกเขาร๊อกกี้ ฤดูกาลมีทั้งหมด 4 ฤดู คือ

ฤดูร้อน ( Summer) มิถุนายน – สิงหาคม
ฤดูใบไม้ร่วง ( Autumn) กันยายน – พฤศจิกายน
ฤดูหนาว ( Winter) ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ฤดูใบไม้ผลิ ( Spring) มีนาคม – พฤษภาคม

เวลา

มีการจัดแบ่งเวลาออกเป็น 4 โซน ดังนี้

Eastern Time Zone (EST) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 12 ชั่วโมง แต่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน จะมีการปรับเลื่อนเวลาเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงเรียกว่า Daylight Saving Time ทำให้เวลาช้ากว่าประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 13 ชั่วโมง เมืองที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ Boston, New York, Washington D.C., Miami, and Cleveland

Central Time Zone (CTZ) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 13 ชั่วแต่ในช่วง Daylight Saving Time ทำให้เวลาช้ากว่าประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 14 ชั่วโมง เมืองที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ Chicago, New Orleans

Mountain Time Zone (MTZ)  เวลาช้ากว่าประเทศไทย 14 ชั่วโมงแต่ในช่วง Daylight Saving Time ทำให้เวลาช้ากว่าประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 14 ชั่วโมง เมืองที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ Denver, Phoenix

Pacific Time Zone (PTZ) เวลาช้ากว่าประเทศไทย 15 ชั่วโมงแต่ในช่วง Daylight Saving Time ทำให้เวลาช้ากว่าประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 16 ชั่วโมง เมืองที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ San Francisco, Seattle, Hawaii

การปกครอง

เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศกว้างขวางมาก จึงทำให้ภูมิอากาศแตกต่างกันด้วย ดังนั้นรัฐต่างๆ เหล่านี้จึงถูก แบ่งเป็น 7 เขตดังนี้
Northwest States  Washington, Oregon, Idaho

Southwest States  California, Nevada, Utah, Arizona

North Central States Montana, Wyoming, Colorado, North Dakota, South
Dakota, Nebraska, Kansas, Minnesota, Iowa, Missouri

South Central States  New Mexico, Oklahoma, Arkansas, Texas, Louisiana
Midwest States  Wisconsin, Illinois, Michigan, Indiana, Ohio, Kentucky

Northeast States New Hampshire, Vermont, New York, Pennsylvania,
West Virginia, Virginia, Maine, Massachusetts, Rhode
Island, Connecticut, New Jersey, Delaware, Maryland,
District of Columbia

Southeast States Tennessee, North Carolina, South Carolina,
Mississippi, Alabama, Georgia, Florida

ภาพน้องๆที่เรียนอยู่ที่ San Francisco

11081102_939165549439547_1259790845067136654_n

Lists

Related Articles

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Latest Articles