25.1 C
Bangkok
Friday, December 27, 2024

มาเรียนต่างประเทศที่มาเลเซียกันเถอะ

malay3

มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลาย มีความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมและผู้คน มีค่าเล่าเรียนที่ไม่แพง ค่าครองชีพที่ถูก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้นักศึกษานานาชาติให้ความสนใจกับการมาเรียนต่อมาเลเซีย มาเลเซียยังได้รับการขนานนามว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มอบโอกาสทางด้านศึกษามากมาย และที่สำคัญเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ ยังเป็นศูนย์กลางของธุรกิจและการค้าที่ทันสมัยอีกด้วย  รัฐบาลของมาเลเซียต้องการที่จะให้พัฒนาให้ประเทศมาเลเซียเป็น ศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการศึกษาในภูมิภาคนี้ โดยมีการวางแผนพัฒนายุทธศาสตร์ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของการพัฒนาเห็นได้ชัดจากการที่มีนักเรียนต่างชาติ เดินทางเข้ามาทำการศึกษาที่ประเทศมาเลเซียเป็นจำนวนสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และในปัจจุบันนี้ มีจำนวนนักศึกษาต่างชาติมากถึง 50,000 คนจากประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของการศึกษาระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ ประกอบกับหลักสูตรมีความหลากหลายเป็นที่ยอมรับ และมีราคาที่เหมาะสมด้วย  ซึ่งนักศึกษามีทางเลือกมากมายในการเลือกสถาบันที่มีรวมกันแล้วมากกว่า 600 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น มหาวิทยาลัยของรัฐบาล (Public universities) จำนวน 20 แห่ง โพลีเทคนิค (Polytechnics) 24 แห่ง วิทยาลัยของรัฐ (Public community colleges) 37 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน (private universities) 33 แห่ง วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนานาชาติ (Foreign university branch campuses) 4 แห่ง และวิทยาลัยเอกชน (Public Colleges) อีกประมาณ 500 แห่ง นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาของทั้งประเทศอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน และนิวซีแลนด์ให้ความสนใจในการเข้ามาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีร่วม (Twinning) กับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในสถาบันต่าง ๆ ของประเทศมาเลเซียด้วย

malay

หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านการศึกษา

การศึกษาในมาเลเซียมีหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ 2 หน่วยงานหลัก ๆ ได้แก่

  1. Ministry of Education หรือ MOE (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งจะดูแลการศึกษาในระดับ Primary education, Secondary education และ Post-secondary หรือ Pre-University education
  2. Ministry of Higher Education หรือ MOHE (กระทรวงอุดมศึกษา) ดูแลการศึกษาในระดับ Tertiary education หรือ Higher education

ระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซีย แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่

1. เตรียมความพร้อม (Pre-school education) คือ การศึกษาระดับอนุบาล (Kindergarten) โดยชาวมาเลเซียจะให้เด็กเรียนในระดับนี้ตอนอายุ 4 ปี2. ประถมศึกษา (Primary education) เด็กทุกคนจะต้องเริ่มเรียนในระดับนี้ เมื่ออายุครบ 6 ปี (โดยให้เริ่มนับจากวันที่ 1 มกราคม ของปีการศึกษานั้น ๆ) ซึ่งจะใช้เวลาเรียน 6 ปี เหมือนกับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ของประเทศไทย

โรงเรียนประถมศึกษาในมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. National Primary School จะใช้ภาษามาเลเซียในการสอน
  2. Vernacular School จะใช้ภาษาจีนหรือทมิฬเป็นภาษาในการสอน

เมื่อเด็ก ๆ เรียนจบในระดับ Primary education เด็กทุกคนต้องผ่านการสอบข้อสอบระดับชาติ (Ujian Pencapaian Sekolah Rendah, UPSR) จึงจะขึ้นไปเรียนต่อในระดับ Secondary education ได้

3. มัธยมศึกษา (Secondary education) เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากระดับประถมศึกษา มีระยะเวลาเรียน 5 ปี หากเป็นโรงเรียนรัฐบาลจะสอนโดยใช้ภาษามาเลเซีย ซึ่งการศึกษาระดับนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

3.1 Lower Secondary (Form 1-3) และ
3.2 Upper Secondary (Form 4-5)

โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับ Upper Secondary มี 3 สาขาคือ

  • เน้นด้านวิชาการ (Art และ Science)
  • เน้นด้านเทคนิค
  • เน้นด้านวิชาชีพ

นักเรียนที่เลือกเรียนสายวิชาการและเทคนิค เมื่อจบแล้วจะต้องสอบผ่านข้อสอบของรัฐคือ SPM (Sijit Pelajaran Malasia) และสายวิชาชีพคือ SPMV (Sijit Pelajaran Malasia Vokasional) หากสำเร็จการศึกษาระดับนี้ วุฒิที่ได้จะเทียบเท่ากับ GCSE ’O’ levels

เมื่อจบการศึกษาระดับนี้ สามารถเลือกว่าจะเรียนต่อในสายวิชาชีพ (Certificate หรือ Diploma) หรือเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา (Higher education)

4. เตรียมอุดม (Post-secondary or Pre-University education) หากเลือกที่จะเรียนต่อในสายอุดมศึกษา จะต้องเข้ารับการศึกษาในระดับนี้ก่อนถึงจะสามารถ ก้าวต่อไปเรียนในระดับปริญญาตรีได้ การรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับนี้ จะดูสาขาที่เลือกตอนเรียนในระดับ Upper secondary และผลการเรียน SPM/SPMU เป็นหลัก และจะคัดเฉพาะเด็กที่ผ่านเกณฑ์เข้าศึกษาเท่านั้น การศึกษาในระดับนี้ใช้เวลา 1 – 2 ปี มี 2 เส้นทางคือ Sixth Form และ Matriculation การเรียนในเส้นทาง Sixth Form จะมี 3 สาขา คือ Arts, Science และ Technical ซึ่งเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องสอบผ่านข้อสอบของรัฐคือ STPM (Sijit Tinggi Perselolaham Malaysia) โดยจะได้วุฒิเทียบเท่ากับ GCE ’A’ levels ส่วน Matriculation คือการสมัครเรียนตรงกับทางสถาบัน ซึ่งหลังจากที่เรียนจบจะต้องสอบให้ผ่านถึงจะสามารถเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีได้

ส่วนโรงเรียนเอกชนที่สอนภาษาจีนนั้น ระบบการเรียนนั้นจะแตกต่างกับโรงเรียนรัฐบาล ในเรื่องของระยะเวลาการเรียนที่ต้องเรียนเป็นเวลา 6 ปี และจะต้องเข้ารับการทดสอบที่เรียกว่า the Unified Examination Certificate (UEC) ซึ่งจัดการโดยสมาคมครูและคณะกรรมการโรงเรียนจีน

5. อุดมศึกษา (Tertiary or Higher education) การศึกษาในระดับนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ Ministry of Higher Education โดยหลักสูตรที่อยู่ในระดับนี้ ประกอบด้วย หลักสูตร Certificate หลักสูตร Diploma หลักสูตร First Degree (Undergraduate Degree หรือปริญญาตรี) และ Higher degree (Professional Degree หรือระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)

เส้นทางการศึกษา

educateion-system 

educateion-system1

สรุปรายละเอียดของระดับการศึกษา
ระดับ รายละเอียด อายุ ระยะเวลา
 1.Pre-school education  หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่
การศึกษาภาคบังคับ
 4-6 ปี  2 ปี
 2.Primary education  หลักสูตรการศึกษาคล้ายกับระบบประถม 1-6
ของไทย ที่ประเทศมาเลเซียใช้ชื่อเรียกว่า
Srandard 1-6 หลังจากเรียนจบ
Standard 6 แล้วจะต้องเข้าสอบ UPSR
 7-12 ปี  6 ปี
 3.Secondary education  หลักสูตรการศึกษาที่คล้ายกับระบบมัธยม
1-5 ของไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ

3.1 Lower Secondary (Form 1-3)

3.2 Upper Secondary (Form 4-5)
โดยในระดับ Upper
นี้ต้องเลือกสายการเรียนดังนี้

3.2.1 Academic secondary education

3.2.2 Technical/Vocational secondary education

3.2.3 Religious secondary education
เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องเข้าสอบให้ผ่านเกณฑ์ของ SPM หรือ SPMV

13-15 ปี

16-17 ปี

 5 ปี
 4. Post-secondary education

หลักสูตรที่เรียนเพื่อเป็นทางผ่านไปสู่การเรียนในระดับ
อุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ซึ่งมีทางเลือก คือ

4.1 Sixth Form ทางเลือกนี้สำหรับนักเรียนที่ต้องการ
เรียนต่อในมหาวิทยาลัย ของรัฐ ซึ่งคะแนนจากการรียนในระดับนี้
มีผลต่อการเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย

4.2 Matriculation, Foundation หลักสูตรสมัครเข้าตรง
ของทางมหาวิทยาลัย หลังจากที่เรียนจบแล้วจะต้องสอบวัดผล
ว่าสามารถไปเรียนต่อในระดับปริญญาได้หรือไม่

4.3 หากได้ผลการเรียนเทียบเท่าระดับ STPM หรือ
IBDP Diploma สามารถสมัครเรียนในระดับปริญญาตรีได้
แต่ก็ยังต้องดู  requirementอื่นของหลักสูตรนั้น ๆ ด้วย
เช่น ระดับทักษะภาษาอังกฤษ,
เกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมปลาย เป็นต้น

 18-19 ปี

1.5-2 ปี

1 ปี

 5. Higher education

หลักสูตรระดับอุดมศึกษา ซึ่งหลักสูตรที่อยุ่ในระดับนี้ได้แก่

  1. Certificate Level ผู้ที่ต้องการเรียนในหลักสูตรนี้
    จะต้องสำเร็จวุฒิการศึกษาในระดับ Secondary education
    หรือเทียบเท่า SPM
  2. Diploma Level ผู้ที่ต้องการเรียนในหลักสูตรนี้
    จะต้องสำเร็จวุฒิการศึกษาในระดับ Secondary education
    หรือเทียบเท่า SPM
  3. Bachelor’s Degree Level หรือปริญญาตรี
    ผู้ที่ต้องการเรียนในหลักสูตรนี้จะต้องสำเร็จวุฒิการศึกษา
    ในระดับ Post-secondary education หรือเทียบเท่า
    STPM, GCE ’A’ levels หรือเกณฑ์อื่น ๆ ที่ทางสถาบันกำหนดไว้
  4. Master’s Degree Level หรือปริญญาโท ผู้ที่ต้องการ
    เรียนในหลักสูตรนี้ จะต้องสำเร็จวุฒิการศึกษาในระดับ
    Bachelor’s Degree Level หรือปริญญาตรี
  5. PhD (Doctor of Philosophy) หรือปริญญาเอก
    ผู้ที่ต้องการเรียนในหลักสูตรนี้ จะต้องสำเร็จวุฒิ
    การศึกษาในระดับ Master’s Degree Level หรือปริญญาโท

1 – 1.5 ปี

2 – 3 ปี

3 – 5 ปี

1 – 3 ปี

3 – 5 ปี

educateion-system3

ประเภทของหลักสูตรปริญญาตรีที่น่าสนใจ มีดังนี้

1. Twinning Degree Programmes (2+1) เป็นโปรแกรมที่นักเรียนจะเรียนในมาเลเซียใน ปีที่ 1 และ ปีที่ 2 ส่วนปีสุดท้ายจะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยที่ต่างประเทศWatch Full Movie Online Streaming Online and Download

Twinning Degree Programmes มีมาประมาณ 20 ปี เป็นหลักสูตรที่ได้รับความนิยมมากในหมู่นักเรียนที่ต้องการ International Bachelor’s degree ซึ่งนักเรียนจะสามารถเรียนในมาเลเซียก่อน 1 ปี, 1ปีครึ่ง, 2 ปี, 2 ปีครึ่ง และในส่วนที่เหลือจึงไปเรียนในมหาวิทยาลัยหลักของต่างประเทศและรับปริญญาที่นั่นโดยตรง ซึ่งปัจจุบัน สถาบันต่าง ๆ ในประเทศมาเลเซียได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำจากหลาย ๆ ประเทศเปิดสอนหลักสูตรนี้ อาทิเช่น ประเทศอังกฤษ, ออสเตรเลีย, อเมริกา, นิวซีแลนด์, ฝรั่งเศส และเยอรมัน

ข้อดีของ Twinning Degree Programme

  • ได้รับ Foreign degree โดยที่ใช้งบประมาณต่ำกว่าไปเรียนที่ประเทศนั้น ๆ แบบเต็มเวลา เพราะค่าเรียนและค่าครองชีพของประเทศมาเลเซียถูกกว่า
  • ได้รับประสบการณ์การศึกษา เรียนรู้วัฒนธรรม และวิถีชิวิตจากผู้คนทั้ง 2 ประเทศ

2. 3+0 Degree Programmes เกิดจากการขยายฐานการศึกษาใน Twinning Programme ซึ่งมีนักเรียนสนใจมากขึ้น จึงอนุญาติให้นักเรียนสามารถเรียนปริญญาตรีทั้ง 3 ปีในมหาวิทยาลัยที่เป็น Partner ในมาเลเซียได้ โปรแกรมนี้ได้เริ่มเปิดสอนเมื่อปีค.ศ. 1998 ซึ่งการเรียนการสอนหลักสูตรต่าง ๆ รวมถึงวิธีการประเมินผลจะได้คุณภาพเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นแบบของหลักสูตร

ข้อดีของ 3+0 Degree Programme

โปรแกรมนี้มีข้อดีในแง่ของการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของนักเรียน เนื่องจากเมื่อเทียบค่าเรียนของการเรียนในมาเลเซียกับการเรียนในมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นแบบของหลักสูตรนั้น ค่าเรียนจะมีความแตกต่างกัน และในส่วนของค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยนั้น ทางประเทศมาเลเซียก็มีค่าครองชีพที่ถูกกว่ามาก

3. International Degrees จาก Foreign Universities ที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยนานาชาติที่มาเปิดการเรียนการสอนในมาเลเซียอยู่ 4 มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยมหาวิทยาลัยแรกที่มาเปิดคือ Monash University ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1998

4. Degrees จาก มหาวิทยาลัยในมาเลเซียเอง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเอกชนหลาย ๆ แห่งมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และหลาย ๆ สถาบันก็ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ สาขาที่เปิดสอนมีทั้ง Business, Life Science, Applied Science, Engineering, Hospitality, Creative Art, Social Science, IT, Medicine, Dentistry&Pharmacy

5. American Degree program เริ่มต้นเมื่อกลางปีค.ศ. 1980 โดยนักเรียนที่เรียน Program นี้นั้นจะเรียนทั้งหมด 4 ปี โดยเรียนที่มาเลเซียใน 2 ปีแรก หรือประมาณ 40-70 หน่วยกิต ก่อนจะย้ายไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่นักเรียนเลือกไว้ในอเมริกา โดยนักเรียนจะสามารถเลือกมหาวิทยาลัยที่เรียนได้จากมหาวิทยาลัยในอเมริกาจำนวน 200 มหาวิทยาลัย และโอนหน่วยกิตไปเรียนที่นั่น

ซึ่งนอกจาก American Degree Transfer Programme แล้ว บางสถาบันก็มีหลักสูตร Australian University Transfer Programme, UK University Transfer Programme และ Canadian University Transfer Programme

6. External Degree Program ในโปรแกรมนี้ นักเรียนที่เรียนจะกลายเป็น External student ของมหาวิทยาลัยจากต่างชาติในขณะที่เรียนในประเทศมาเลเซีย

7. Online Bachelor’s Degree บางมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซียเองก็เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ อาทิเช่น Open University of Malaysia, Universiti Tun Abdul Razak และ Malaysia Multimedia University

8. Advanced Standing Program เป็นข้อตกลงกับทางมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ, ออสเตรเลีย, แคนาดา, ไต้หวัน และอื่น ๆ ที่ทำร่วมกับวิทยาลัยเอกชนในมาเลเซียตั้งแต่ค.ศ. 1980 Advanced Standing Program คือ Diploma โปรแกรมของวิทยาลัยเอกชนที่จะเป็นตัวกลางในการเข้ามหาวิทยาลัยนานาชาติหลาย ๆ ที่ ที่ทำการตกลงกันไว้แล้ว

 

คุณสมบัติขั้นต่ำ ที่ใช้ในการสมัครเรียนในระดับปริญญาตรี
  1. วุฒิการศึกษาระดับ STPM หรือเทียบเท่าระดับ GCE “A” Level และ
  2. ผลสอบภาษาอังกฤษ <ช่วงระดับคะแนนจะสูงหรือต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับสาขาและสถาบันที่เลือกเรียน>
      TOFEL CBT (The Computer Base Test
      173 ถึง 250 หรือ
      TOFEL IBT (Internet Base Test)
      60 ถึง 100 หรือ
      IELTS
      6.0 – 7.0 หรือ
      MUET
      Band 3-6

การขอ Student Pass ในมาเลเซีย

นักเรียนไทยที่ต้องการจะมาเรียนที่ประเทศมาเลเซียจะต้องขอ Student Pass ซึ่งผู้ที่ให้การรับรองในการขอ Student Pass ให้กับนักเรียนก็คือสถาบันที่นักเรียนสมัครเรียนนั่นเอง

เอกสารที่จะต้องเตรียม

  • Offer Letter จากทางสถาบันการศึกษา
  • Form IMM.14 ที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
  • สำเนา Passport 2 ใบ
  • รูปถ่ายขนาดเดียวกับใน Passport 2 รูป

กรณีที่ 1 นักเรียนสมัครเรียนและดำเนินการขอ Student Pass ในประเทศไทย

นักเรียนจะได้รับ Letter of Approval จากทางสถานฑูตสำหรับการเดินทางเข้าประเทศ และยื่นเพื่อได้รับวีซ่าชั่วคราวที่สนามบิน และจากนั้น 2 สัปดาห์นักเรียนจะได้รับ Student Pass Sticker

กรณีที่ 2 นักเรียนสมัครเรียนที่มาเลเซียและขอ Student Pass ที่นั่น

คนไทยส่วนใหญ่หากไปเที่ยวมาเลเซียไม่เกิน 1 เดือนจะไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า และใช้แค่เพียงพาสปอร์ตและการกรอกฟอร์มบนเครื่องบินเท่านั้น เมื่อนักเรียนไปถึงและต้องการสมัครเรียนที่นั่นก็สามารถทำได้ ซึ่งสามารถติดต่อกับทางสถาบันได้โดยตรง แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่ากรณีที่ 1

ค่าใช้จ่ายในการยื่นขอ Student Pass เนื่องจากทางสถาบันต้องเป็นคนยื่นขอ Student Pass ให้กับนักเรียนดังนั้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดขึ้นอยู่กับการกำหนดของทางโรงเรียน

ค่าใช้จ่าย

มาเลเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาและค่าครองชีพที่ค่อนข้างถูก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนต่างชาติหลายๆคน เลือกประเทศมาเลเซียเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาต่อ ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งออกกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับการอาศัยในประเทศมาเลเซีย โดยแบ่งออกโดยละเอียดได้ดังนี้

ค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียน ประกอบด้วย

  • ค่าสมัครเรียน (Registration Fee)
  • ค่าหน่วยกิจหรือค่าเล่าเรียน (Tuition Fee)
  • เงินมัดจำ (Deposit)
  • ค่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, ค่าเครื่องมือในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Computer/Science Laboratory Fee)
  • ค่าประกันสุขภาพ (Health & Hospitalisation Insurance Premium)
  • ค่าห้องสมุด (Library Fee)
  • ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่าง ๆ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับการอาศัยในประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย

  • ค่าที่พัก (Accommodation) โดนราคาจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับที่ตั้ง และประเภทของที่พัก เช่น หอพักในสถาบัน, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, บ้านให้เช่า ฯ
  • ค่าอาหารและค่ารักษาความสะอาด (Food / Housekeeping)
  • ค่าซัก-รีดเสื้อผ้า
  • ค่าเดินทาง
  • ค่าโทรศัพท์
  • ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
การทำงานในขณะเรียนอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย

อนุญาตให้ทำงานได้ เฉพาะหลักสูตรที่มี School break เท่านั้น โดยนักเรียนจะได้รับอนุญาติให้ทำงาน Part-time 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยนักเรียนจะได้รับอนุญาติให้ทำงานได้ในสถานที่ต่อไปนี้

  • ภัตราคาร/ร้านอาหาร
  • ปั๊มน้ำมัน
  • มินิมาร์ท
  • โรงแรม

หมายเหตุ แต่นักเรียนจะไม่ได้รับอนุญาติให้ทำงานในตำแหน่ง Cashier

 

การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน

นักเรียนสามารถยื่นความประสงค์ขออนุญาตทำงานได้ที่สถาบันที่นักเรียนทำการเรียนอยู่ โดยใบอนุญาตทำงานจะถูกติดไว้กับ visa และมีอายุ 3 เดือน ซึ่งใบอนุญาตทำงานนี้ สามารถยื่นเรื่องขอต่ออายุได้ แต่มีเงื่อนไขอยู่ที่การทำงานดังกล่าว จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนโดยจะประเมิยจากผลการเรียนเป็นหลัก

 

สถาบันแนะนำ

Erican College

Sunway College

Universiti Utara Malaysia

MAHSA University

KBU International College

Sunway University

 

เรียน ภาษาที่ Pacific Tree International Language Academy เป็นทางเลือกการเรียนภาษาอีกสถาบันนึงที่มีคุณภาพ

สถาบัน  Pacific Tree International Language Academy เป็นสภถาบันซึ่งพึ่งเปิดใหม่เมื่อก่อนเดือน กรกฎาคม ปีนี้ โดยจะมุ่งเน้นคุณภาพในการเรียนภาษาโดยตรง ซึ่ง Pacific Tree International Language Academy จะอยู่ที่เมือง Cebu เป็นเมืองอันดับ 2 รองจากเมืองหลวง แต่เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในด้านการศึกษาภาษาอังกฤษอันดับ 1 ใน filipine และ ที่สถาบันมีบรรยาการที่เต็มไปด้วยการเรียนภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น ใน Class นึงจะมีผู้เรียนค่อนข้างเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก เพียงแค่ 4-5 คนต่อ class เรียน ด้วยความเป็นส่วนตัวนี้จึงทำให้นักเรียนนักศึกษาได้เก็บเกี่ยวความรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยอาจารย์ผู้สอนนั้นจะมีอยู่หลายชาติที่เป็นเจ้าของภาษา ซึ่งมีทั้งชาวอังกฤษ อเมริกัน และอื่นๆอีกมากมาย ในสถาบันนี้เป็นสถาบันซึ่งเปิดใหม่จึงมีนักเรียนอยู่ในหลัก ร้อย เท่านั้น แต่ถ้าต้องการคุณภาพที่ดีสอนอย่างเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะ Intensive Course นั้นมีการสอนแบบตัวต่อตัวด้วยเช่นกัน ประหยัด ในเรื่องของอาหารการคล้ายประเมทศไทยอาหาร filipine อย่างอย่างเพียงแค่ 40-50 Pesos(ไม่เกิน 60 บาท/มื้อ)นักเรียนสามารถเลือกกินอาหารได้อย่างมากมายใน Cebu เท่านั้น สถาบันนี้อยู่ที่สถานที่ที่น่าสนใจมีห้างอยู่หลายที่ ไปโดยการนั่งแท็กซี่เพียงแค่ 100 Pesos = ไม่เกิน 150 บาทเท่านั้นก็ไปห้างได้แล้ว มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่เยอะ มีภูเขา ดำน้ำและกิจกรรมสนุกๆสถานที่ที่น่าสนใจอยู่มากมาย เมือง Cebu ประเทศ Filipine เป็น เกาะของประเทศ filipine ส่วนที่พักอาศัยนั้นก็มีความสะดวกสะบายดังรูปโบชัวร์เลยมี Cable TV, Free Wifi, Coffee shop ฯลฯ ซึ่งสะดวกเป็นอย่างยิ่ง ที่พักมีทั้ง Apartments (540/4 weeks) , Hotel (ราคาถูกสามารถคุยต่อรองได้)

ซึ่งจะมี Course เรียนที่เปิดจะมี 1.General Course 1.200 USD รวมที่พัก 4 สัปดาห์ / 2. Standard Course 1,320 USD รวมที่พัก 4  สัปดาห์ 3. Intensive Course 1,420 USD รวมที่พัก 4 สัปดาห์ เรียนเช้า 1-2 ชั่วโมง บ่าย – 16.30 น โดยนักเรียนสามารถเลือกสมัครเวลาที่จะเรียนอีกครั้งกับสถาบันครับ สถาบันจะมี Study Room, Libraly, Clinic, Students’ Lounge , Cafetaria สถาบันอยู่ติดกับใจกลางเมืองนิดเดียว หากเลือกคุณภาพการศึกษาและถูกต้ องเลือก สถาบันภาษา  Pacific Tree International Language Academy ที่เมือง Cebu ประเทศ filipine ครับ 

www.pacifictreeacad.com

Lists

Related Articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Latest Articles